หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง หลักในการปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองครองธรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 10 ประการ ได้แก่  1.หลักประสิทธิผล 2.หลักประสิทธิภาพ 3.หลักการตอบสนอง 4.หลักภาระรับผิดชอบ 5.หลักความโปร่งใส 6.หลักการมีส่วนร่วม 7.หลักการกระจายอำนาจ 8.หลักนิติธรรม 9.หลักความเสมอภาค และ 10.หลักการมุ่งฉันทามติ

     เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สำนักงานปศุสัตว์เขต 2 จึงได้มีการกำหนดความหมายสำคัญของหลักธรรมาภิบาลของการบริหารที่ดี ไว้ดังนี้

หลักธรรมาภิบาล แนวปฏิบัติในการบริหารองค์กร

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์
และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติงานตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึง
สามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผล
การปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน 
โดยการปฏิบัติงานจะต้องมีทิศทางยุทธศาสาตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจนมีกระบวน
การปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและ
พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

1. มีการกำหนดแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน และมีการกำหนด
วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน
2. มีการนำแผนไปดำเนินการครบวงจร PDCA

2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการบริหารงานตามแนวทางการกำกับดูแล
ที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหาร
จัดการที่เหมาะสมให้หน่วยงานสามารถใช้ทรัพยากรและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามภารกิจเพื่อตอบสนอง
ความต้องการประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
1. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
2. มีวัสดุสำนักงานที่ทันสมัยและฝึกบุคลากรในหน่วยงานให้ใช้งานได้
3. มีการทำงานเป็นทีมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา
4. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้่บริการและนำมาพัฒนางาน
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดำเนินการ
ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนอง
ความคาดหวังหรือความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลาก
หลายและมีความแตกต่าง
1. มีการทำกิจกรรม KM ในการปฏิบัติงาน
2. ฝึกบุคลากรทุกคนให้โต้ตอบ e-Mail ได้
3. บุคลากรทุกคนเข้าร่วมกลุ่ม Line ของหน่วยงาน
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการ
ปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้
1. มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรที่ชัดเจน
2. สร้างจิตสำนึกในการรับผิดและรับชอบ
5. หลักความโปร่งใส (Transparency) มีกระบวนการที่เปิดเผยตรงไปตรงมา 
ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามได้อย่างเสรี
โดยบุคลากรในหน่วยงานสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการ
ต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
1. มีการประชุมสม่ำเสมอ
2. มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
3. มีการบอกขั้นตอนการทำงานในคู่มือปฏิบัติงาน
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) มีกระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
มีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา
หรือประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวน
การตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนา
1. บุคลากรภายในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและรับรู้
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและประเมินองค์กร
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ
แทน รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินงาน
ให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย
การบริหารจัดการของหน่วยงานส่งเสริมให้บุคลากรที่รับผิดชอบในแต่ละงานตัดสินใจใน
งานซึ่งอยู่ในหน้าที่รับผิดชอบ สามารถให้บริการตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีอิสระ 
นอกจากนี้ยังมีระบบทำงานแทนกัน
8. หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อ
บังคับในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มีการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และการให้ลริการที่มีขอบเขต ภายใต้กฎ ระเบียบ และ
ข้อบังคับต่างๆ
9. หลักความเสมอภาค (Equity) คือการได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่าง
เท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ
สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคม ความ
เชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
มีการให้ความรู้ด้านการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจ สร้างจิตสำนึกในการบริการที่ดี
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus) การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อ
คิดเห็นจากกลุ่มบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้าน
ที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดยฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความ
เห็นพ้องโดยเอกฉันท์
สำนักงานปศุสัตว์เขต 2 ได้ใช้หลักมุ่งเน้นฉันทามติในหน่วยงาน กล่าวคือ เมื่อมีปัญหาหรือ
ต้องการความคิดเห็นจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุม มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และถือ
คะแนนเสียงข้างมากเป็นสำคัญ บนการยอมรับแบบประชาธิปไตย